สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หลักสูตรระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ประจำปีการศึกษา 2568
หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 3 หลักสูตร
ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาตรี
หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสาธารณสุขชุมชน
Bachelor of Public Health Program in Community Public Health
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย
สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขชุมชน)
อักษรย่อภาษาไทย
ส.บ. (สาธารณสุขชุมชน)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
Bachelor of Public Health (Community Public Health)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ
B.P.H. (Community Public Health)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติเฉพาะ
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการ หรือกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น
ที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง และคุณวุฒิการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง จะต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพนั้น ๆ
วุฒิการศึกษา
1.
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
2.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ศิลปหัตถกรรม หรือ
3.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม เกษตรกรรม คหกรรม หรือ
4.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาพาณิชยกรรม หรือบริหารธุรกิจ อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ศิลปกรรม หรือ
5.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมสิ่งทอ คหกรรมเกษตรกรรม
ประมง และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ
6.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือประกาศนียบัตรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตร 1 ปี (เช่น ป.ผู้ช่วยทันตแพทย์
ป.ผู้ช่วยเภสัชกร ป.ผู้ช่วยแพทย์ ป.ผดุงครรภ์อนามัย ป.พนักงานอนามัย ป.พนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์) หรือ
7.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรผู้ช่วยพยาบาล ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตร 1 ปี
หรือ
8.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีทางด้านสังคมศาสตร์ หรือเทียบเคียง หรือ
9.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษา
ตอนปลาย และศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี (เช่น รังสีเทคนิค เซลล์วิทยา พยาธิวิทยา พยาธิวิทยาคลินิก โลหิตวิทยา
และธนาคารเลือด หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) หรือ
10.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เป็นงานสนับสนุน ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษา
ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี (เช่น เวชระเบียน โสตทัศนศึกษา โสตทัศนูปกรณ์
ส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง) หรือ
11.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางการแพทย์แผนไทย หรือเทียบเคียง ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษา
ประโยคมัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี หรือ
12.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางสาธารณสุขศาสตร์ แต่ไม่ใช่สาธารณสุขศาสตร์โดยตรง ซึ่งรับจาก
ผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลายและศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี (เช่น ทันตาภิบาล ทันตสาธารณสุข
เจ้าพนักงานเภสัชกรรม เทคนิคเภสัชกรรม) หรือ
13.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์ (เช่น วิศวกรรมศาสตร์สิ่งแวดล้อม หรืออื่น ๆ) หรือ
14.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรทางการพยาบาล หรือสำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางเวชกิจฉุกเฉิน
หลักสูตร 2 ปี ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษาประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ
15.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่หลักสูตรไม่มีการเรียนและฝึกปฏิบัติงาน
ด้านสาธารณสุขในชุมชน (เช่น สัตวแพทย์ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค หรืออื่น ๆ) หรือ
16.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่าปริญญาตรีด้านแพทย์แผนไทย หรือเทียบเคียง หรือ
17.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรหรืออนุปริญญาทางสาธารณสุขศาสตร์ ซึ่งรับจากผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย
และศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 2 ปี (เช่น สาธารณสุขชุมชน พนักงานอนามัย นักเรียนนายสิบทหารบกเหล่าทหารแพทย์
หรือเทียบเคียง) หรือ
18.
สำเร็จการศึกษาสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือวิชาเอกอนามัยสิ่งแวดล้อม หรือ
19.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางการพยาบาลหรือสูงกว่า หรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือสูงกว่าทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ (เช่น แพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ เภสัชกรรม ส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา หรือสาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง)
หมายเหตุ
1)
กรณีผู้สมัครใช้วุฒิ ปวท. หรือ ปวส. ที่มิใช่ทางสาธารณสุขศาสตร์ ให้ศึกษาชุดวิชาศึกษาทั่วไปตามประกาศ มสธ.
เรื่อง เกณฑ์การกำหนดชุดวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับบุคคลที่สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค
(ปวท.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) พ.ศ.2556
2)
สำหรับผู้เข้าศึกษาโดยมีวุฒิการศึกษาตามข้อ 7 – 19 อาจได้รับยกเว้นหรือเทียบโอนรายวิชาที่ได้ศึกษามาแล้ว
ในระดับประกาศนียบัตร/อนุปริญญา/ปริญญาตรี ตามโครงสร้างและรายละเอียดของหลักสูตรที่กำหนดไว้
3)
ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 19 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอน
สถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพ
การเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสียจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้เป็นรายกรณี
หากสภาวิชาการพิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษา เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันประกาศถอนสถานภาพการเป็น
นักศึกษา หรือเป็นนักศึกษาโครงการความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้พิจารณาเป็นรายกรณี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย
วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
อักษรย่อภาษาไทย
วท.บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
Bachelor of Science (Occupational Health and Safety)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ
B.Sc. (Occupational Health and Safety)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติเฉพาะ
ผู้สมัครต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรที่กระทรวงศึกษาธิการหรือกระทรวงสาธารณสุข หรือหน่วยงานอื่น
ที่สำนักงาน ก.พ. รับรอง และคุณวุฒิการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง จะต้องได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพนั้นๆ
วุฒิการศึกษา
1.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือ
2.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือ
3.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาธารณสุขศาสตร์ หรือ
4.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีพยาบาลศาสตร์ หรือ
5.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีการแพทย์แผนไทย หรือ
6.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ หรือ
7.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีครุศาสตร์อุตสาหกรรม หรืออุตสาหกรรมศาสตร์ หรือ
8.
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีวิทยาศาสตร์ทุกสาขาวิชา หรือปริญญาตรีเทคโนโลยี
หมายเหตุ
1)
ผู้มีคุณสมบัติต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของ
มหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
2)
บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสียจะกลับ
เข้าศึกษาใหม่ได้เป็นรายกรณี หากสภาวิชาการพิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษา เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับแต่
วันประกาศถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา หรือเป็นนักศึกษาโครงการความร่วมมือในการจัดการศึกษา
ให้พิจารณาเป็นรายกรณี
หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต
Bachelor of Thai Traditional Medicine Program
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย
การแพทย์แผนไทยบัณฑิต
อักษรย่อภาษาไทย
พท.บ.
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
Bachelor of Thai Traditional Medicine
อักษรย่อภาษาอังกฤษ
B.TM.
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติเฉพาะ
1.
ผู้เข้าศึกษาต้องมีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่เป็นโรคซึ่งต้องห้ามในการขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็น
ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย ดังนี้ โรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม
วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฏอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือโรคอื่นที่
สภาวิชาชีพฯ พิจารณาเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย และ
2.
ผู้เข้าศึกษาต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสียหายซึ่งสภาการแพทย์แผนไทยเห็นว่าจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์
แห่งวิชาชีพ ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยศาลพิพากษาถึงที่สุดในคดีที่สภาการแพทย์แผนไทยเห็นว่า อาจจะนำมาซึ่ง
ความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ ไม่เป็นผู้ติดยาเสพติดให้โทษไม่เป็นคนวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
วุฒิการศึกษา
1)
สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) สายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ หรือเทียบเท่าตามที่
กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
2)
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรืออนุปริญญาทางด้านการแพทย์แผนไทย หรือ
การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ
3)
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านการแพทย์แผนไทย หรือการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ
4)
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสูงกว่า หรือ
5)
สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาอื่นหรือสูงกว่าที่มิใช่ปริญญาตรีทางด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
หมายเหตุ
(1)
ผู้สมัครตามข้อ 1) ต้องศึกษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 22 หน่วยกิต คณิตศาสตร์ไม่ต่ำกว่า
12 หน่วยกิต และภาษาอังกฤษไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต
(2)
ผู้เข้าศึกษาสามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ได้เฉพาะในหลักสูตรที่ได้รับการเผยแพร่โดย สป.อว. (เดิมคือ สกอ.) แล้ว
กรณีเป็นสถาบันการศึกษาต่างประเทศต้องเป็นสถาบันที่ สป.อว. รับรอง หรือใช้กรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา
ของประเทศนั้น ๆ และหากเป็นนักศึกษาต่างคณะในสถาบันเดียวกันจะต้องผ่านการประเมินทัศนคติต่อวิชาชีพ และ
รายละเอียดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
(3)
ผู้เข้าศึกษาที่ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ/ประกอบวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนไทย/สาขาการแพทย์
แผนไทยประยุกต์ จะได้รับการยกเว้นชุดวิชาตามที่หลักสูตรกำหนด ดังนี้
–
กรณีมีใบประกอบโรคศิลปะแผนโบราณในสาขาเวชกรรม/ใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประเภทเวชกรรมไทย/ใบประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านเวชกรรมไทย
ยกเว้นชุดวิชา 55331 เวชกรรมแผนไทย 1
–
กรณีมีใบประกอบโรคศิลปะแผนโบราณในสาขาเภสัชกรรม/ใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทย
ประเภทเภสัชกรรมไทย/ใบประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านเภสัชกรรมไทย
ยกเว้นชุดวิชา 55328 เภสัชกรรมแผนไทย 1
–
กรณีมีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประเภทการนวดไทย/ใบประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย
ด้านการนวดไทย ยกเว้นชุดวิชา 55325 นวดแผนไทย
–
กรณีมีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ ยกเว้นชุดวิชา 55325 นวดแผนไทย 1,
ชุดวิชา 55328 เภสัชกรรมแผนไทย 1 และชุดวิชา 55331 เวชกรรมแผนไทย
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0 2504 7788
Last updated: 17-March-2025; 13:30 PM
จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ
จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช