สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์
หลักสูตรระดับปริญญาตรีและต่ำกว่าระดับปริญญาตรี
ประจำปีการศึกษา 2567
หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่
ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาตรี
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกอาหาร โภชนาการ และการประยุกต์
Bachelor of Science Program in Food, Nutrition and Applications
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย
วิทยาศาสตรบัณฑิต (อาหาร โภชนาการ และการประยุกต์)
อักษรย่อภาษาไทย
วท.บ. (อาหาร โภชนาการ และการประยุกต์)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
Bachelor of Science (Food, Nutrition and Applications)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ
B.Sc. (Food, Nutrition and Applications)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1.
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
2.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
3.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่า หรือ
4.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่า หรือ
5.
สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา หรือปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง
หมายเหตุ
1)
ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 5 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
2)
บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสียจะกลับ
เข้าศึกษาใหม่ได้เป็นรายกรณี หากสภาวิชาการพิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษา เมื่อพ้นกำหนด 5 ปีนับแต่
วันประกาศถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาหรือเป็นนักศึกษาโครงการความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้พิจารณาเป็นรายกรณี
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต วิชาเอกพัฒนาการมนุษย์และครอบครัว
Bachelor of Arts Program in Human and Family Development
ชื่อปริญญา
ชื่อเต็มภาษาไทย
ศิลปศาสตรบัณฑิต (พัฒนาการมนุษย์และครอบครัว)
อักษรย่อภาษาไทย
ศศ.บ. (พัฒนาการมนุษย์และครอบครัว)
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ
Bachelor of Arts (Human and Family Development)
อักษรย่อภาษาอังกฤษ
B.A. (Human and Family Development)
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
1.
สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าตามที่กระทรวงศึกษาธิการรับรอง หรือ
2.
สำเร็จการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพเทคนิค (ปวท.) หรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา หรือ
3.
สำเร็จการศึกษาอนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) หรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา หรือ
4.
สำเร็จการศึกษาปริญญาชั้นใดชั้นหนึ่ง หรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง
หมายเหตุ
1)
ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1 – 4 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย
2)
บุคคลซึ่งเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสียจะกลับ
เข้าศึกษาใหม่ได้เป็นรายกรณี หากสภาวิชาการพิจารณาเห็นสมควรให้เข้าศึกษา เมื่อพ้นกำหนด 5 ปีนับแต่
วันประกาศถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาหรือเป็นนักศึกษาโครงการความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้พิจารณาเป็นรายกรณี
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0 2504 7788
Last updated: 25-March-2024; 16:30 PM
จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ
จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช