สาขาวิชาวิทยาการจัดการ

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 3 หลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 2 หลักสูตร

หมายเหตุ

ระยะเวลาการศึกษา

ระดับปริญญาโท

มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

ระดับปริญญาเอก

มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 9 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาโท

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

Master of Business Administration Program

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต

อักษรย่อภาษาไทย

บธ.ม.

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Business Administration

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.B.A.

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน 1 แบบวิชาการ  และ  แผน 2 แบบวิชาชีพ

1.

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชา จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภาสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ รับรอง

2.

มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า

3.

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถศึกษาเอกสารทางวิชาการได้ โดยมีหลักฐานแสดงประกอบตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หมายเหตุ

1)

ผู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.30 จากระบบ 4 ระดับคะแนน ให้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาทดลองเรียนได้

2)

ผู้มีคุณสมบัตินอกเหนือจากนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา/มหาวิทยาลัย

กลุ่มวิชาการจัดการทั่วไป

กลุ่มวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์

กลุ่มวิชาการตลาดดิจิทัล

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ

Master of Business Administration Program in Business and Hospitality Management

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการธุรกิจและการบริการ)

อักษรย่อภาษาไทย

บธ.ม. (การจัดการธุรกิจและการบริการ)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Business Administration (Business and Hospitality Management)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.B.A. (Business and Hospitality Management)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก2  และ  แผน ข

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง

2.

ได้คะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า

3.

มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านการบริหารธุรกิจมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ปี

4.

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถศึกษาเอกสารทางวิชาการได้ โดยมีหลักฐานแสดงประกอบ หรือมีความรู้
ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่สาขาวิชากำหนด หรือ

5.

เป็นผู้ที่สภาวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้ โดยไม่กระทบต่อ
การรักษามาตรฐานบัณฑิตศึกษา

หมายเหตุ

1)

ผู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30 จากระบบ 4 ระดับคะแนน ให้เข้าศึกษาเป็น
นักศึกษาทดลองเรียนได้

2)

ผู้ที่มีสิทธิเข้าศึกษาต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา หรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของ
มหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้เจตนากระทำความผิดหรือ
กระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำ จะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา
ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา

กลุ่มวิชาการบริการและการตลาด

กลุ่มวิชาการเงินและการบัญชี

กลุ่มวิชาการจัดการองค์กรเชิงอัจฉริยะ

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

Master of Public Administration Program

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต

อักษรย่อภาษาไทย

รป.ม.

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Public Administration

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.P.A.

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก2  และ  แผน ข

1.

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง

2.

ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.30 จากระบบ 4 ระดับคะแนน หรือเทียบเท่า

3.

มีประสบการณ์ในการทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 1 ปี

4.

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่สามารถศึกษาเอกสารทางวิชาการได้ โดยมีหลักฐานแสดงประกอบ หรือ

5.

เป็นผู้ที่สภาวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้ โดยไม่กระทบต่อ
การรักษามาตรฐานบัณฑิต

หมายเหตุ

1)

ผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1 และ 3 แต่ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30 ให้เข้าศึกษาเป็น
นักศึกษาทดลองเรียนได้

2)

ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และไม่เคยถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัยหรือ
สถาบันอุดมศึกษาอื่นเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำ
ความผิดหรือกระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำ จะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการ
เห็นสมควรให้เข้าศึกษา ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาเอก

หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาการจัดการธุรกิจและการบริการ

Doctor of Business Administration Program in Business and Hospitality Management

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (การจัดการธุรกิจและการบริการ)

อักษรย่อภาษาไทย

บธ.ด. (การจัดการธุรกิจและการบริการ)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Doctor of Business Administration (Business and Hospitality Management)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

D.B.A. (Business and Hospitality Management)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 2.1

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจหรือเทียบเท่าจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง

2.

มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า

3.

มีโครงการในการทำดุษฎีนิพนธ์ และ

4.

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หมายเหตุ

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่มิใช่ด้านบริหารธุรกิจ หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทต่ำกว่า 3.25
หรือมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่กำหนด มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยพิจารณาจากประสบการณ์ และอาจกำหนด
ให้ศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบริหารหลักสูตรกำหนด

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชารัฐประศาสนศาสตร์

Doctor of Philosopy Program in Public Administration

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)

อักษรย่อภาษาไทย

ปร.ด. (รัฐประศาสนศาสตร์)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosopy (Public Administration)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

Ph.D. (Public Administration)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน 1.1

1.

เป็นอาจารย์หรือผู้สอนในระดับอุดมศึกษาหรือนักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาที่มีประสบการณ์การสอน หรือทำวิจัย
ไม่น้อยกว่า 5 ปี ซึ่งสำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่ สป.อว. ให้การรับรองวิทยฐานะและรับรองปริญญาแล้ว แต่ถ้าผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท/ปริญญาเอกที่มิใช่
ทางด้านรัฐประศาสนศาสตร์ต้องศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

2.

มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.50 จากระบบคะแนน 4.00

ในกรณีที่ขาดคุณสมบัติ คณะกรรมการรับสมัครอาจพิจารณารับผู้มีความรู้ความสามารถและมีผลงานด้านวิชาการ
ทางรัฐประศาสนศาสตร์เด่นเป็นที่ประจักษ์ และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบคะแนน 4.00 หรือเทียบเท่า

3.

มีผลงานวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์เด่นเป็นที่ประจักษ์ทั้งในตำราและบทความวิชาการ/วิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
ในระดับชาติหรือนานาชาติจำนวนมาก

4.

มีความรู้ภาษาอังกฤษ ในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

5.

มีโครงการในการทำดุษฎีนิพนธ์

6.

มีการสอบความรู้ด้านการวิจัย โดยต้องอยู่ในระดับ “ดีมาก”

แผน 2.1

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางรัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ หรือในสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่ สป.อว. ให้การรับรองวิทยฐานะและรับรองปริญญาแล้ว

2.

มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 3.25 จากระบบคะแนน 4.00

ในกรณีที่ขาดคุณสมบัติ คณะกรรมการรับสมัครอาจพิจารณารับผู้มีความรู้ความสามารถและมีผลงานด้านวิชาการ
ทางรัฐประศาสนศาสตร์เด่นเป็นที่ประจักษ์ และต้องมีคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.20 จากระบบคะแนน 4.00 หรือเทียบเท่า

3.

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4.

มีโครงการในการทำดุษฎีนิพนธ์

5.

มีการสอบความรู้ด้านการวิจัย โดยต้องอยู่ในระดับ “ดี”

หมายเหตุ

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่มิใช่ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ หรือมีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโท ต่ำกว่า 3.25 หรือมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่กำหนด มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยพิจารณาจากประสบการณ์และอาจกำหนดให้ศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาสาขาวิชา/มหาวิทยาลัยกำหนด

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0 2504 7788

Last updated: 23-January-2025; 14.03 PM

จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ

จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช