หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 6 หลักสูตร ได้แก่

ประกอบด้วย 5 กลุ่มวิชา คือ

หลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 5 หลักสูตร ได้แก่

หมายเหตุ

ระยะเวลาการศึกษา

ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 3 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

ระดับปริญญาโท

มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

ระดับปริญญาเอก

มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 9 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

ข้อมูลหลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต

หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน

Graduate Diploma Program in Curriculum and Instruction

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ประกาศนียบัตรบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)

อักษรย่อภาษาไทย

ป.บัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Graduate Diploma (Curriculum and Instruction)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

Grad. Dip. (Curriculum and Instruction)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

1.

สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่าทุกสาขาวิชาจากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ
รับรอง และ

2.

เป็นครูผู้สอน หรือบุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ฝึกอบรม เผยแพร่ความรู้

หมายเหตุ

1)

ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1 – 2 แต่ได้คะแนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30 มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาได้ ตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา/มหาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ

2)

ผู้ที่มีคุณสมบัติดข้างต้น ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และไม่เคยถูกให้ออกจากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอันเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาโท

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน

Master of Education Program in Curriculum and Instruction

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)

อักษรย่อภาษาไทย

ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Education (Curriculum and Instruction)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.Ed. (Curriculum and Instruction)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน 1 แบบวิชาการ และ แผน 2 แบบวิชาชีพ

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าด้านศึกษาศาสตร์ หรือครุศาสตร์ หรือวุฒิการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้นๆ รับรอง

2.

มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนน

3.

เป็นครูหรือบุคลากรประจำการทางการศึกษาที่ทำหน้าที่สอน อบรม เผยแพร่ความรู้ แนะแนว หรือให้บริการทาง
การศึกษา และ

4.

มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอนหรือด้านการศึกษามาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือ

5.

เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อการรักษามาตรฐานบัณฑิตศึกษา

หมายเหตุ

1)

ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1, 3 และ 4 แต่ได้คะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30 จากระบบ
4 ระดับคะแนน ให้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาทดลองเรียนได้

2)

ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาและเคยถูกถอนสภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย

กลุ่มวิชาปฐมวัยศึกษา

กลุ่มวิชาภาษาไทย

กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์

กลุ่มวิชาสังคมศึกษา

กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา

Master of Education Program in Educational Administration

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา)

อักษรย่อภาษาไทย

ศษ.ม. (บริหารการศึกษา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Education (Educational Administration)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.Ed. (Educational Administration)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ 

 รับรอง

หมายเหตุ

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษาต้องศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา

Master of Education Program in Educational Measurement and Evaluation

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การวัดและประเมินผลการศึกษา)

อักษรย่อภาษาไทย

ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Education (Educational Measurement and Evaluation)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.Ed. (Educational Measurement and Evaluation)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน 1 แบบวิชาการ และ แผน 2 แบบวิชาชีพ

1.

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า  หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตตามที่หลักสูตรกำหนด และมีคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และ

2.

มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า และ

3.

เป็นครู หรือบุคลากรที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการวัด หรือประเมินผลการศึกษาในองค์กรต่าง ๆ หรือหน้าที่อื่นที่ต้องใช้
การวัดหรือการประเมินทางการศึกษา หรือเป็นผู้มีผลการสอบผ่านหรือรับรองมาตรฐานความรู้และสมรรถนะด้าน
การวัดและประเมินผลการศึกษาระดับปริญญาตรี

หมายเหตุ

ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1 และ 3 แต่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30 จากระบบ
4 ระดับคะแนน ให้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาทดลองเรียนได้

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

Master of Education Program in Guidance and Psychological Counseling

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)

อักษรย่อภาษาไทย

ศษ.ม. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Education (Guidance and Psychological Counseling)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.Ed. (Guidance and Psychological Counseling)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข

1.

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตตามที่หลักสูตรกำหนด และมีคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติม ตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชา และมหาวิทยาลัยกำหนด

2.

มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.30

3.

เป็นครู อาจารย์ หรือบุคลากรประจำการทางการศึกษาที่ทำหน้าที่สอน อบรม เผยแพร่ความรู้ แนะแนว ให้บริการ
การศึกษา เป็นบุคลากรทำหน้าที่เกี่ยวกับ การพัฒนาบุคคล หรือ

4.

มีประสบการณ์ทำงาน ฝึกอบรม เผยแพร่ความรู้ แนะแนวให้บริการศึกษามาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี

หมายเหตุ

1)

ผู้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1, 3-4 แต่มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30 ให้เข้าศึกษาเป็น
นักศึกษาทดลองเรียนได้

2)

ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาหรือเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของ
มหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด หรือ
กระทำโดยประมาท และลุแก่โทษในการกระทำจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา
ทั้งนี้เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศถอนสภาพการเป็นนักศึกษา

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Master of Education Program in Educational Technology and Communications

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)

อักษรย่อภาษาไทย

ศษ.ม. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Education (Educational Technology and Communications)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.Ed. (Educational Technology and Communications)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข

1.

สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า หรือประกาศนียบัตรบัณฑิต จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง

2.

มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตั้งแต่ 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนน

หมายเหตุ

1)

ผู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนน ให้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาทดลองเรียนได้

2)

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไม่มีวุฒิทางการศึกษาต้องศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา

Master of Education Program in Science Education

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (วิทยาศาสตร์ศึกษา)

อักษรย่อภาษาไทย

ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Education (Science Education)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.Ed. (Science Education)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข
กลุ่มที่ 1 ไม่รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าด้านศึกษาศาสตร์หรือครุศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์
จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง

2.

ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า

3.

เป็นครูหรือบุคลากรประจำการทางการศึกษาที่ทำหน้าที่สอน อบรม เผยแพร่ความรู้ แนะแนว หรือให้บริการทาง
การศึกษา

4.

เคยศึกษารายวิชาที่เกี่ยวกับวิชาวิทยาศาสตร์มาแล้วไม่น้อยกว่า 68 หน่วยกิต และ

5.

มีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการสอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 ปี หรือ

6.

เป็นผู้ที่สภาวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้โดยไม่กระทบต่อ
การรักษามาตรฐานบัณฑิตศึกษา

หมายเหตุ

1)

ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1, 3, 4 และ 5 แต่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30
จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า ให้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาทดลองเรียนได้

2)

ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา
ของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย

แผน ก แบบ ก2 และ แผน ข
กลุ่มที่ 2 รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าด้านวิทยาศาสตร์ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง และ

2.

ได้คะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีตั้งแต่ 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนนหรือเทียบเท่า หรือ

3.

เป็นผู้ที่สภาวิชาการมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้โดยไม่กระทบต่อ
การรักษามาตรฐานบัณฑิตศึกษา

หมายเหตุ

1)

ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามข้อ 1 แต่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.30 จากระบบ 4 ระดับคะแนน หรือเทียบเท่า ให้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาทดลองเรียนได้

2)

ผู้มีสิทธิเข้าศึกษาต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา
ของมหาวิทยาลัย เนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาเอก

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาหลักสูตรและการสอน

Doctor of Philosophy Program in Curriculum and Instruction

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรและการสอน)

อักษรย่อภาษาไทย

ปร.ด. (หลักสูตรและการสอน)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy (Curriculum and Instruction)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

Ph.D. (Curriculum and Instruction)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 2.1

1.

สำเร็จการศึกษาระดับขั้นปริญญาโททางการศึกษาด้านหลักสูตรและการสอนหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือ
สถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง

2.

มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาโท ไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบคะแนน 4.00 หรือเป็นไปตามความเห็นชอบของ
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

3.

ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับนักการศึกษาในองค์กรต่าง ๆ หรือหน้าที่อื่นที่ต้องใช้ความรู้ด้านหลักสูตรและการสอน

4.

มีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

5.

มีผลงานและโครงการวิจัยที่เหมาะสมในศาสตร์ทางหลักสูตรและการสอน

6.

เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อการรักษามาตรฐานบัณฑิตศึกษา

หมายเหตุ

1)

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาอื่นต้องศึกษาเพิ่มเติมอีก 1 ชุดวิชา คือ
ชุดวิชา 22745 สัมมนาหลักสูตรและการสอน โดยไม่นับหน่วยกิต

2)

ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1-6 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด หรือกระทำโดยประมาท และถึงแก่โทษในการกระทำจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา
ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศสถานภาพการเป็นนักศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาบริหารการศึกษา

Doctor of Philosophy Program in Educational Administration

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา)

อักษรย่อภาษาไทย

ปร.ด. (บริหารการศึกษา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy (Educational Administration)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

Ph.D. (Educational Administration)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 1.1

1.

สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาโททางการบริหารการศึกษาหรือเทียบเท่า และมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.50 จากระบบคะแนน 4.00

2.

มีประสบการณ์และผลงานที่โดดเด่นและเหมาะสมในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา

3.

ทำวิทยานิพนธ์ในระดับมหาบัณฑิต และมีประสบการณ์ในการทำวิจัยโดยมีผลการวิจัยที่มีคุณภาพดีเยี่ยม ซึ่งไม่ใช่
เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา และได้รับการเผยแพร่ในวารสารระดับชาติหรือระดับนานาชาติ

4.

มีโครงการวิจัยที่เหมาะสมในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา และมีแผนการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำความรู้ไปปฏิบัติ
ตามหลักสูตรที่เรียนภายหลังสำเร็จการศึกษา

5.

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หมายเหตุ

ผู้สำเร็จการศึกษาที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าต่ำกว่า 3.50 จากระบบคะแนน 4.00
หรือมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่กำหนด มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยพิจารณาจากประสบการณ์และอาจกำหนด
ให้ศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ โดยไม่นับหน่วยกิต
ตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาสาขาวิชา/มหาวิทยาลัยกำหนด

แบบ 2.1

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบคะแนน 4.00 หรือประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง

2.

ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา

3.

มีผลงาน และโครงการวิจัยที่เหมาะสมในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา และมีแผนการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการนำ
ความรู้ไปปฏิบัติตามหลักสูตรที่เรียนภายหลังสำเร็จการศึกษา

4.

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

หมายเหตุ

1)

สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทหรือเทียบเท่าที่มีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำกว่า 3.25 จากระบบคะแนน
4.00 หรือมีคุณสมบัติไม่ครบตามที่กำหนด มหาวิทยาลัยอาจรับเข้าศึกษาโดยพิจารณาจากประสบการณ์ และ
อาจกำหนดให้ศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมเพื่อปรับพื้นฐานความรู้ โดยไม่นับหน่วยกิต ตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาสาขาวิชา/มหาวิทยาลัยกำหนด และ

2)

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทที่มิใช่ทางการบริหารการศึกษา ต้องศึกษาชุดวิชาเพิ่มเติมเพื่อปรับพื้นฐาน
ความรู้ โดยไม่นับหน่วยกิต ตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาสาขาวิชา/มหาวิทยาลัยกำหนด

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา

Doctor of Philosophy Program in Educational Measurement and Evaluation

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การวัดและประเมินผลการศึกษา)

อักษรย่อภาษาไทย

ปร.ด. (การวัดและประเมินผลการศึกษา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy (Educational Measurement and Evaluation)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

Ph.D. (Educational Measurement and Evaluation)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 2.1

1.

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านการวัดผลการศึกษา สถิติ วิจัย ประเมินทางการศึกษา หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง
หรือสาขาอื่น ๆ จากสถาบันอุดมศึกษาที่สภามหาวิทยาลัยนั้น ๆ รับรอง

2.

มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบคะแนน 4.00

3.

มีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด และ

4.

มีผลงานและโครงการวิจัยที่เหมาะสมในศาสตร์ด้านการวัดและประเมินผลการศึกษา

หมายเหตุ

1)

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาอื่นต้องได้รับการประเมินความสามารถพื้นฐานด้านการวัดและ
ประเมินผลการศึกษาตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด

2)

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาอื่นต้องศึกษาเพิ่มอีก 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 24732 ทฤษฎีการวัด
และประเมินผลการศึกษา และการประเมินโครงการ โดยไม่นับหน่วยกิต

3)

ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1-4 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา
ของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด
หรือกระทำโดยประมาท และถึงแก่โทษในการกระทำจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา
ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศสถานภาพการเป็นนักศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

Doctor of Philosophy Program in Guidance and Psychological Counseling

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)

อักษรย่อภาษาไทย

ปร.ด. (การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy (Guidance and Psychological Counseling)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

Ph.D. (Guidance and Psychological Counseling)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 2.1

1.

สำเร็จการศึกษาระดับขั้นปริญญาโททางการแนะแนว/จิตวิทยา/การปรึกษาเชิงจิตวิทยา/การให้คำปรึกษา
หรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

2.

มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบคะแนน 4.00 หรือเป็นไปตามความเห็นชอบของ
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

3.

ปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนว/การปรึกษาเชิงจิตวิทยา/จิตวิทยา/การให้คำปรึกษาในองค์กรต่าง ๆ
หรือหน้าที่อื่นที่ต้องใช้ความรู้ด้านการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา

4.

มีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

5.

มีผลงานและโครงการวิจัยที่เหมาะสมในศาสตร์ทางการแนะแนว/การปรึกษาเชิงจิตวิทยา/จิตวิทยา/การให้คำปรึกษา

6.

เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้โดยที่ไม่กระทบต่อการรักษามาตรฐานบัณฑิตศึกษา

หมายเหตุ

1)

ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาอื่นต้องเรียนเพิ่มอีก 1 ชุดวิชา คือ ชุดวิชา 25714 การพัฒนา
เครื่องมือและกิจกรรมแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา โดยไม่นับหน่วยกิต

2)

ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1-6 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา
ของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด
หรือกระทำโดยประมาท และถึงแก่โทษในการกระทำจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา
ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศสถานภาพการเป็นนักศึกษา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Doctor of Philosophy Program in Educational Technology and Communications

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)

อักษรย่อภาษาไทย

ปร.ด. (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา)

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Doctor of Philosophy (Educational Technology and Communications)

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

Ph.D. (Educational Technology and Communications)

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 2.1

1.

สำเร็จการศึกษาระดับขั้นปริญญาโทหรือเทียบเท่า จากมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาอื่นที่สภามหาวิทยาลัยรับรอง

2.

มีค่าคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาโทไม่ต่ำกว่า 3.25 จากระบบคะแนน 4.00 หรือเป็นไปตามความเห็นชอบของ
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

3.

มีความรู้ภาษาต่างประเทศในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

4.

มีผลงานและโครงการวิจัยที่เหมาะสมในศาสตร์ทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

5.

เป็นผู้ที่สภาวิชาการพิจารณาแล้วเห็นสมควรรับเข้าศึกษาได้โดยที่ไม่กระทบกระเทือนต่อการรักษามาตรฐานบัณฑิตศึกษา

หมายเหตุ

ผู้ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1-5 ต้องไม่เป็นโรคที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา และเคยถูกถอนสถานภาพการเป็นนักศึกษา
ของมหาวิทยาลัยเนื่องจากความประพฤติเสื่อมเสีย หากการกระทำนั้นได้กระทำโดยมิได้มีเจตนากระทำความผิด
หรือกระทำโดยประมาท และถึงแก่โทษในการกระทำจะกลับเข้าศึกษาใหม่ได้ หากสภาวิชาการเห็นสมควรให้เข้าศึกษา
ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนด 5 ปี นับตั้งแต่วันประกาศสถานภาพการเป็นนักศึกษา

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0 2504 7788

Last updated: 1-February-2024; 10:21 AM

จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ

จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช