สาขาวิชารัฐศาสตร์

หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ประจำปีการศึกษา 2568

หลักสูตรระดับปริญญาโท จำนวน 1 หลักสูตร

หลักสูตรระดับปริญญาเอก จำนวน 1 หลักสูตร

หมายเหตุ

ระยะเวลาการศึกษา

ระดับปริญญาโท

มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

ระดับปริญญาเอก

มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 9 ปีการศึกษา นับจากวันเปิดภาคการศึกษาแรกที่เข้าศึกษา

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาโท

หลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต

Master of Political Science

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

รัฐศาสตรมหาบัณฑิต

อักษรย่อภาษาไทย

ร.ม.

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Master of Political Science

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

M.Pol.Sc.

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แผน ก แบบ ก2  และ  แผน ข

1.

สำเร็จการศึกษาขั้นปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์ หรือปริญญาตรีสาขาอื่นหรือเทียบเท่า จากสถาบันอุดมศึกษา
ที่สภามหาวิทยาลัยสถาบันอุดมศึกษานั้น ๆ รับรอง

2.

มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีไม่ต่ำกว่า 2.30 ขึ้นไป จากระบบ 4 ระดับคะแนน

3.

มีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 1 ปี

หมายเหตุ

1)

ผู้ที่มีคะแนนเฉลี่ยระดับปริญญาตรีต่ำกว่า 2.3 จากระบบ 4 ระดับคะแนน หรือผู้ที่มีประสบการณ์การทำงานหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีน้อยกว่า 1 ปี ให้เข้าศึกษาเป็นนักศึกษาทดลองเรียน

2)

ผู้สมัครทุกคนต้องแนบโครงการในการทำวิทยานิพนธ์/การศึกษาค้นคว้าอิสระ และมีผลคะแนนความรู้
ภาษาอังกฤษตามประกาศสาขาวิชารัฐศาสตร์

3)

สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนดังกล่าวข้างต้น หากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาพิจารณา
แล้วเห็นว่า ผู้สมัครนั้นยังขาดพื้นความรู้ทางรัฐศาสตร์ ต้องเข้ารับการอบรมเพื่อปรับพื้นความรู้ทางรัฐศาสตร์
ตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชากำหนด โดยไม่นับหน่วยกิต

กลุ่มวิชาการเมืองการปกครอง

กลุ่มวิชาการเมืองการปกครองท้องถิ่น

ข้อมูลหลักสูตรระดับปริญญาเอก

หลักสูตรรัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Doctor of Political Science Program

ชื่อปริญญา

ชื่อเต็มภาษาไทย

รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต

อักษรย่อภาษาไทย

ร.ด.

ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ

Doctor of Political Science

อักษรย่อภาษาอังกฤษ

D.Pol.Sc.

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

แบบ 2.1

1.

สำเร็จการศึกษาปริญญาโทหรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติอื่นเพิ่มเติมตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษา
ประจำสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยกำหนด

2.

มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับที่มหาวิทยาลัยกำหนด

3.

มีโครงการในการทำดุษฎีนิพนธ์

4.

ผ่านการสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการที่สาขาวิชากำหนด

หมายเหตุ

สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนดังกล่าวข้างต้น หากคณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชาพิจารณา
แล้วเห็นว่า ผู้สมัครนั้นยังขาดพื้นความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์ เมื่อผ่านการคัดเลือกแล้วต้องเข้ารับการอบรม
เพื่อปรับพื้นความรู้ทางรัฐศาสตร์ ตามที่คณะกรรมการบัณฑิตศึกษาประจำสาขาวิชากำหนด โดยไม่นับหน่วยกิต

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ศูนย์สารสนเทศ โทร. 0 2504 7788

Last updated: 23-January-2025; 14.03 PM

จัดทำข้อมูลโดย ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ

จัดทำระบบโดย คณะทำงานบริหารสารสนเทศในระบบอินเทอร์เน็ตและอินทราเน็ต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช