การจัดอบรม ประชุม สัมมนา การจัดการความรู้ในด้านต่าง ๆ
ภายในที่จัดโดยสำนักวิชาการ

ปี พ.ศ. 2567

แสดงความยินดีแก่อาจารย์ที่ได้รับการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการระดับสูงขึ้น

ฝ่ายเลขานุการสภาวิชาการและการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ขอร่วมแสดงความยินดีแก่อาจารย์ที่ได้รับการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการระดับสูงขึ้น โดยในการประชุมสภาวิชาการ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567  มีผู้ได้รับกำหนดตำแหน่งทางวิชาการในรระดับสูงขั้น เป็นระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ จำนวน 4 ราย ได้แก่
⭐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิริรัตน์ จำแนกสาร
      อาจารย์ประจำสำนักทะเบียนและวัดผล (พนักงานมหาวิทยาลัย) ได้รับการกำหนดตำแหน่งสาขาวิชาสถิติวิจัยและการประเมินผลการศึกษา
⭐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี สราญรมย์
      อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิทยาการจัดการ (พนักงานมหาวิทยาลัย) ได้รับการกำหนดตำแหน่งสาขาวิชาการจัดการ
⭐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สืบวงศ์ ชื่นสมบัติ
      อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา (พนักงานมหาวิทยาลัย) ได้รับการกำหนดตำแหน่งสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา
⭐ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พัทธนันท์ บุตรฉุย
      อาจารย์ประจำสำนักเทคโนโลยีการศึกษา (พนักงานมหาวิทยาลัย) ได้รับการกำหนดตำแหน่งสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

การฝึกอบรมคอมพิวเตอร์

ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ จัดฝึกอบรมคอมพิวเตอร์ เรื่อง ” การใช้งานระบบสารสนเทศการบริหารหลักสูตร” : จัดทำเล่มการออกแบบหลักสูตร ระดับบัณฑิตศึกษา วันที่ 15 พฤษภาคม 2567
เวลา 08.30 – 12.00 น. ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams
          โดยมีนายอำนาจ  ธรรมกิจ ผู้พัฒนาระบบเป็นวิทยากร
          ซึ่งในการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณาจารย์ และบุคลากรที่เกี่ยวข้องสามารถจัดทำเล่มการออกแบบหลักสูตรผ่านระบบสารสนเทศการบริหารหลักสูตรได้
          ในการสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 77 คน
โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 36 คน คิดเป็นร้อยละ 46.75

โครงการสัมมนา
เชิงปฏิบัติการ

เลขานุการสำนักวิชาการ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
“เรื่อง การพัฒนาสมรรถนะเพื่อความก้าวหน้าในการทำงาน (สายสนับสนุน)”  เมื่อวันที่ 21-23 กุมภาพันธ์ 2567 
          โดยมีผู้อำนวยการสำนักวิชาการ เป็นประธาน 
          ซึ่งในการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรเป็นผู้ผลักดันให้องค์กรสามารถดำเนินภารกิจต่าง ๆ ให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้
          ในการสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน …..คน
โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน ….. คน คิดเป็นร้อยละ ……. 

โครงการสัมมนา
เชิงปฏิบัติการ

เลขานุการสำนักวิชาการ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ
“เรื่อง เทคนิคการเขียนหนังสือราชการและหนังสือโต้ตอบ”  เมื่อวันที่ 24 – 25 เมษายน 2567
          โดยมี…… เป็นวิทยากร
          ซึ่งในการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรมีความสามารถและทักษะของการทำงานสารบรรณอย่างมีประสิทธิภาพ <br>รวมถึงสามารถเขียนหนังสือราชการ โต้ตอบหนังสือ
          ในการสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน …..คน
โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน ….. คน คิดเป็นร้อยละ ……. 

อบรมเข้มชุดวิชา
ประสบการณ์วิชาชีพ

ฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพและกิจกรรมเสมือนจริง สำนักวิชาการ จัดอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ
     การอบรมเชิงปฏิบัติการที่มหาวิทยาลัยฯ กำหนดให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ใกล้สำเร็จการศึกษาต้องเข้ารับการอบรมเป็นระยะเวลา 5 วัน 4 คืน ณ มหาวิทยาลัยฯ โดยกำหนดการอบรมในภาคต้น คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-กุมภาพันธ์ และภาคปลาย คือ ระหว่างเดือนเมษายน-สิงหาคม ในระหว่างการอบรมนักศึกษาต้องปฏิบัติกิจกรรม ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมกลาง (Common Experience) และ กิจกรรมเฉพาะสาขา (Professional Experience)

ปี พ.ศ. 2566

สัมมนาเชิงปฏิบัติการ

ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่อง Stakeholders’ need กับการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรและชุดวิชา วันพุธที่ 25 ตุลาคม 2566 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ ห้อง 5209 อาคารสัมมนา 1 มสธ. และผ่านโปรแกรม Microsoft Teams
          โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์ (อดีตรองอธิการบดีฝ่ายยุทธศาสตร์ แผน นวัตกรรม และเทคโนโลยีดิจิทัล) เป็นวิทยากร
          ซึ่งในการสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่สนใจ มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ
     1. Outcome Based Education (OBE)
    2. วิธีการสำรวจ stakeholders’ requirements จากกลุ่มต่างๆ ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน
    3.  AUN – QA ver. 4.0 และทักษะตามเกณฑ์มาตรฐาน TQF รวมถึงเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพ (ถ้ามี)
     4. วิธีการวิเคราะห์ stakeholders’ need ที่มีความต้องการที่หลากหลาย
     5. วิธีการนำ stakeholders’ need มาสังเคราะห์เพื่อนำมาสรุปในการจัดทำ PLOs ของหลักสูตร
     6. วิธีการเขียน PLOs ของหลักสูตรที่สามารถสังเกตได้ วัดได้ และถูกประเมินได้
     7. วิธีการเขียนวัตถุประสงค์เป็นผลลัพธ์การเรียนรู้ของชุดวิชา
     ในการสัมมนาครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 152 คน
โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 77 คน คิดเป็นร้อยละ 50.65