วิสัยทัศน์
เป็นหน่วยงานส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการเรียนการสอนระบบการศึกษาทางไกล ที่ได้มาตรฐานระดับชาติ ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
พันธกิจ
- สนับสนุน ส่งเสริมด้านหลักสูตรในระบบการศึกษาทางไกล ให้เป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาระดับชาติ
- สนับสนุนการแต่งตำรา การจัดทำวารสาร และการผลิตชุดวิชา
- สนับสนุนกิจการสภาวิชาการ และการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ
- บริหารการจัดอบรมประสบการณ์วิชาชีพและกิจกรรมเสมือนจริงแก่นักศึกษาระดับปริญญาตรี
- สนับสนุนการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์และการบริหารงานของสำนักวิชาการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
หน่วยงานภายในสำนักวิชาการ
ประกอบด้วย 5 ฝ่าย โดยแต่ละฝ่ายมีหน้าที่รับผิดชอบ ดังนี้
และการสอน
สำนักวิชาการเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่หลักในการประสานงานให้บริการ และสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย สาขาวิชาและฝ่ายต่างๆ ภายในสำนักวิชาการให้สามารถดำเนินการโครงการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุ
ตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยโดยจัดแบ่งโครงสร้างการบริหารงานออกเป็น 3 งาน
ฝ่ายตำรามีหน้าที่รับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ดังนี้ งานการส่งเสริมงานเขียนทางวิชาการ งานประสานงานการขออนุมัติใช้ลิขสิทธิ์ผลงานทางวิชาการ งานจัดทำวารสารสุโขทัยธรรมาธิราช งานเอกสารเผยแพร่ทางวิชาการ งานติดตามความก้าวหน้าการผลิต/ปรับปรุงชุดวิชา งานจัดทำรายงานความก้าวหน้าการผลิต/ปรับปรุงชุดวิชาต่อผู้บริหารและต่อสภาวิชาการ การจัดทำงานความก้างหน้าการจัดทำ มคอ. 3 และ 5 งานวิเคราะห์ความซ้ำซ้อน งานสืบค้นข้อมูลชุดวิชา งานจัดกิจกรรมร่วมเรียนรู้ชุดวิชา การจัดอบรมคณาจารย์เพื่อการสอนในกิจกรรมร่วมเรียนรู้ชุดวิชา การจัดห้องการเรียนการสอนในกิจกรรมร่วมเรียนรู้ชุดวิชา งานจัดทำข้อมูลกลางชุดวิชาในระบบสารสนเทศงานทะเบียนและงานบริการการศึกษา
และการสอน
ภารกิจสำคัญของฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ ได้แก่ การประสานงานด้านนโยบายของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับหลักสูตรการเรียนการสอน ตลอดจนสนับสนุนให้การดำเนินงานด้านหลักสูตรการเรียนการสอนของสาขาวิชาต่างๆ เป็นไปด้วยความราบรื่น และมีประสิทธิภาพ ประกอบกับสำนักวิชาการได้กำหนดนโยบายด้านการประกันคุณภาพการศึกษา โดยมีตัวบ่งชี้สำคัญด้านการดำเนินงาน
ฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพฯ มีหน้าที่รับผิดชอบงานการจัดอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ (ระดับปริญญาตรี) การจัดอบรมเข้ม (พิเศษ) ชุดวิชาให้แก่นักศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีทุกสาขาวิชา การพัฒนาสื่อการอบรมและข้อมูลสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ การจัดเตรียมเอกสารการสอนชุดวิชา เอกสารกิจกรรม การจัดซื้อ/จัดจ้าง วัสดุ สิ่งของต่างๆ การประสานงานด้านสถานที่ เจ้าหน้าที่ และอุปกรณ์สำหรับการทำกิจกรรมระหว่างการอบรม รวมทั้งการประเมินผลการอบรมจากนักศึกษาที่มาเข้ารับการอบรม
เป็นหน่วยงานสำคัญในการดำเนินงานเกี่ยวกับงานเลขานุการการจัดประชุมสภาวิชาการ การบันทึก การประชุม การจัดทำรายงานและสรุปมติที่ประชุม จัดทำคำสั่ง ฯ ประกาศฯ และเวียนแจ้ง ประสานงาน การขอตำแหน่งทางวิชาการของ คณาจารย์ประจำสาขาวิชาและสำนักต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ถูกต้องตามเกณฑ์ของมหาวิทยาลัย ประสานงานการเสนอ โครงการและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อดำรงตำแหน่งกิตติเมธีประจำสาขาวิชา จัดทำคำของบประมาณและควบคุมการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายต่างๆของโครงการกิตติเมธีพร้อมทั้งจัดเผยแพร่ผลงานของ กิตติเมธี
โครงสร้างบริหารงาน
ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ
รองผู้อำนวยการสำนักวิชาการ
สำนักงานเลขานุการ
สำนักวิชาการ
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายฯ
ฝ่ายตำรา
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายฯ
ฝ่ายพัฒนาหลักสูตร
และการสอน
หัวหน้าฝ่ายฯ
ฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพและกิจกรรมเสมือนจริง
หัวหน้าฝ่ายฯ
ฝ่ายเลขานุการกิจสภาวิชาการและ
การกำหนดกำแหน่งทางวิชาการ
รักษาการในตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายฯ
ทำเนียบผู้บริหารสำนักวิชาการ
ผศ. ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2565 ถึง ปัจจุบัน
ผศ. ดร.พนมพัทธ์ สมิตานนท์ (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2565
รศ.ดร.สันทัด ทองรินทร์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2561 ถึง วันที่ 31 มีนาคม 2565
รศ.ณัฏฐพร พิมพายน (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2560 ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2561
รศ.ดร.สมโภช รติโอฬาร
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2556 ถึง วันที่ 30 สิงหาคม 2560
รศ.ดร.สมโภช รติโอฬาร (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2556 ถึง วันที่ 29 สิงหาคม 2556
รศ.ดร.ศริศักดิ์ สุนทรไชย
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2556
นางสาวสุนทรี เฉลิมพงศธร (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2552 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2552
รศ.ดร.ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2548 ถึง วันที่ 20 มิถุนายน 2552
รศ.ศศิมล ปรีดา(รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2548 ถึง วันที่ 27 ตุลาคม 2548
ผศ.ดร.ศรีนวล สถิตวิทยานันท์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 9 กันยายน 2547 ถึง วันที่ 30 มิถุนายน 2548
รศ.ดร.ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2547 ถึง วันที่ 16 กันยายน 2547
รศ.ดร.วรรณา สนั่นพานิชกุล (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2547 ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2547
รศ.ดร.ประภาพรรณ เอี่ยมสุภาษิต
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2546 ถึง วันที่ 1 เมษายน 2547
ผศ.ดร.ศรีนวล สถิตวิทยานันท์ (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2546 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2546
รศ.ดร.สมประสงค์ วิทยเกียรติ (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2546 ถึง วันที่ 13 พฤษภาคม 2546
รศ.ดร.กล้า ทองขาว
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2543 ถึง วันที่ 30 เมษายน 2546
รศ.ดร.กล้า ทองขาว (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 ถึง วันที่ 13 ธันวาคม 2543
รศ.ดร.จินดา ขลิบทอง
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2541 ถึง วันที่ 30 ตุลาคม 2543
รศ.ดร.จินดา ขลิบทอง
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2537 ถึง วันที่ 22 ธันวาคม 2541
รศ.ดร.จินดา ขลิบทอง (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2537 ถึงวันที่ 22 ธันวาคม 2537
รศ.ทัศนีย์ ลิ้มสุวรรณ
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2534 ถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2537
รศ.สุนีย์ ศีลพิพัฒน์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2530 ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2534
รศ.กุลธน ธนาพงศธร (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2530 ถึง วันที่ 31 สิงหาคม 2530
รศ.ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2529 ถึง วันที่ 6 มกราคม 2530
รศ.ดร.ทองอินทร์ วงศ์โสธร (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2529 ถึง วันที่ 11 กันยายน 2529
รศ.ดร.องค์การ อินทรัมพรรษ์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2526 ถึง วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2529
รศ.ดร.วิจิตร ภักดีรัตน์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2524 ถึง วันที่ 20 เมษายน 2526
รศ.นิคม ทาแดง
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2522 ถึง วันที่ 30 เมษายน 2524
ปัจจุบัน
นางสาวรัชนี พลแสน
นางสาวรัชนี พลแสน (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ 8 กรกฎาคม 2565 – 1 กันยายน 2565
ดร.เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2562- 1 เมษายน 2565
รศ.สราวุธ สุธรรมาสา
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2536-2537
รศ.ดร.ภรณี ต่าววิวัฒน์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2535-2536
รศ.ดร.จุมพล หนิมพานิช
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2530 – 2532
รศ.สุนีย์ ศิลพิพัฒน์
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อ ปี พ.ศ. 2528 – 2530
นางนุชนารถ คงหมื่นไวย (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 ถึง ปัจจุบัน
นางสาวรัชนี พลแสน (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2565 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2566
นางธนันช์พร นาราศรี (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่ง 10 สิงหาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565
นางสาวเพียงโสม เพียรพานิช (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ถึง 9 สิงหาคม 2565
นางสาวณัฏฐณิชชา เพชรบัวศักดิ์ (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 มีนาคม 2567 ถึงปัจจุบัน
นางสาวรัชนี พลแสน (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่ง 1 ตุลาคม 2566 ถึง 29 กุมภาพันธ์ 2567
ดร.เฉลิมศักดิ์ เย็นสำราญ
เริ่มดำรงตำแหน่งปีพ.ศ. 2551 (เกษียณเมื่อปี พ.ศ. 2566)
ปัจจุบัน
นางสาวรัชนี พลแสน
นางสุนทรี เฉลิมพงศธร
เริ่มดำรงตำแหน่งปีพ.ศ…… (เกษียณเมื่อปี พ.ศ….)
ปัจจุบัน
นางสุมิตรา วิจิตรพลเกณฑ์
ชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่งปีพ.ศ…… (เกษียณเมื่อปี พ.ศ….)
นางนุชนารถ คงหมื่นไวย (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึง ปัจจุบัน
นายพิจิตร กิจเจตนี (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ถึง 30 กันยายน 66
นางสวิชญา ชื่นเจริญ (รักษาการ)
เริ่มดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 1 พ.ค. 66
ประวัติความเป็นมาของสำนักวิชาการ
สำนักวิชาการจัดตั้งขึ้นพร้อมกับสำนักงานอธิการบดี สำนักเทคโนโลยีการศึกษา สำนักบริการการศึกษา และสำนักทะเบียนและวัดผล ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานอธิการบดีและสำนัก มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2522 และแบ่งส่วนราชการตามประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง “การแบ่งส่วนราชการในสำนักต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช” ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ.2522 ประกอบด้วยฝ่ายต่าง ๆ คือ สำนักงานเลขานุการ ฝ่ายตำรา ฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน และฝ่ายวิจัย
สถานที่ทำการสำนักวิชาการ สถานที่ทำการระยะแรกตั้งอยู่ที่ชั้น 1 อาคารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ ถนนสุโขทัย (มกราคม 2521- พฤษภาคม 2522) ต่อมาได้ย้ายที่ทำการไปอยู่ที่ต่างๆ ดังนี้
– อาคารบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด (ชั้น 6) ถนนหลานหลวง (พฤษภาคม 2522 – เมษายน 2523)
– อาคารคณะเศรษฐศาสตร์ ชั้น 5 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท (เมษายน – มิถุนายน 2523)
– อาคารทบวงมหาวิทยาลัย ถนนศรีอยุธยา (มิถุนายน 2523 – เมษายน 2524) และ
– อาคารสิริภิญโญ ชั้น 5 ถนนศรีอยุธยา (10 เมษายน 2524 – ธันวาคม 2527)
ธันวาคม 2527 สำนักวิชาการจึงได้ย้ายมายังอาคารวิชาการ 3 ชั้น 2 จนถึงปัจจุบัน (10 ปี มสธ.2531:26-28) ในช่วงแรก ๆ ของการก่อตั้งมหาวิทยาลัย พ.ศ.2522–2526 งานในหน้าที่รับผิดชอบของสำนักวิชาการคืองานเลขานุการกิจสภาวิชาการ เลขานุการกิจสาขาวิชา และงานประสานงานเพื่อสนับสนุนงานวิชาการของมหาวิทยาลัย อาทิ
งานเลขานุการคณะกรรมการจัดตั้งสาขาวิชาต่าง ๆ งานจัดทำคู่มือนักศึกษา และหลักสูตรสาขาวิชาและงานจัดประชุมบูรณาการชุดวิชา
พ.ศ.2526 มหาวิทยาลัยได้โอนงานจัดอบรมเข้มเสริมประสบการณ์บัณฑิต (เป็นกิจกรรมภาคบังคับของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาตรีในสาขาวิชาที่ไม่มีชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ) และงานจัดประชุมเชิงปฏิบัติการชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ (เป็นกิจกรรมสำคัญส่วนหนึ่งในการเรียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ) จากสำนักบริการ
การศึกษามาให้ฝ่ายวิจัย สำนักวิชาการเป็นผู้รับผิดชอบ
พ.ศ.2527 สำนักวิชาการได้แยกภาระงานจัดอบรมเข้มเสริมประสบการณ์บัณฑิตและงาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพออกจากฝ่ายวิจัยและ
จัดตั้งหน่วยงานชื่อ “งานโครงการเสริมประสบการณ์บัณฑิตและประสบการณ์วิชาชีพ” อยู่ในสำนักงานเลขานุการ สำนักวิชาการ
และในปีเดียวกันนั้นมหาวิทยาลัยยังได้มอบหมายให้จัดตั้งงานฝึกอบรมขึ้นอีกหน่วยงานหนึ่งในสำนักวิชาการ โดยให้มีหน้าที่ในการเตรียมงานด้านการฝึกอบรมเพื่อให้บริการแก่ชุมชน ซึ่งใน พ.ศ.2532 มหาวิทยาลัยได้แยกงานฝึกอบรมออกจากสำนักวิชาการ และยกฐานะเป็นสำนักการศึกษาต่อเนื่อง
พ.ศ.2534 ได้เปลี่ยนชื่อ งานโครงการเสริมประสบการณ์บัณฑิตและประสบการณ์วิชาชีพเป็น “ฝ่ายอบรมประสบการณ์วิชาชีพ” และได้จัดตั้งเป็นหน่วยงานภายใน
สำนักวิชาการตามคำสั่งมหาวิทยาลัยที่ 569/2534 ลงวันที่ 20 มีนาคม 2534 มีหน้าที่รับผิดชอบการจัดอบรมเข้มนักศึกษาที่ลงทะเบียนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพของทุก ๆ สาขาวิชา และเพื่อความเหมาะสมต่อมาจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพ”
ต่อมาภาระงานและปริมาณงานเกี่ยวกับด้านเลขานุการของสาขาวิชาต่าง ๆ มีมากขึ้นและมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่แตกต่างออกไปเป็นการเฉพาะ สำนักวิชาการจึงได้จัดตั้งฝ่ายเลขานุการกิจเป็นการภายในเพิ่มขึ้นอีก 1 ฝ่าย เพื่อรับผิดชอบงานเลขานุการกิจสภาวิชาการ งานเลขานุการกิจกิตติเมธี และงานเลขานุการกิจประจำสาขาวิชาต่าง ๆ อนึ่ง
ฝ่ายดังกล่าวได้ถูกยุบรวมเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัดสำนักงานเลขานุการ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิชาการครั้งที่ 6/2543 วันที่ 25 ธันวาคม 2543
พ.ศ.2535 ได้แยกฝ่ายวิจัยออกจากสำนักวิชาการ และยกฐานะเป็นสถาบันวิจัยและพัฒนา
พ.ศ.2544 มหาวิทยาลัยมีนโยบายจัดตั้งโครงการบัณฑิตศึกษา ซึ่งมีภารกิจในด้านประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษา งานประกันคุณภาพการศึกษา งานเลขานุการกิจ-กิตติเมธี รวมทั้งงานเลขานุการกิจบัณฑิตศึกษาของสาขาวิชาต่าง ๆ เพื่อให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รองรับงานดังกล่าว สำนักวิชาการ
จึงได้ตั้งฝ่ายบัณฑิตศึกษาขึ้นเป็นการภายในอีกหนึ่งฝ่าย
พ.ศ.2545 สภามหาวิทยาลัยได้ประกาศจัดตั้งสำนักบัณฑิตศึกษาขึ้นในวันที่ 15 สิงหาคม และได้แยกออกจากสำนักวิชาการไปพร้อมทั้งงานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา และงานกิตติเมธี และเมื่องานประกันคุณภาพการศึกษามีภาระงานต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น ต่อมาสภามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้ออกระเบียบมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
ว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งกำหนดให้มีศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษา ทำหน้าที่รองรับภารกิจด้านการประกันคุณภาพการศึกษาทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ดำเนินงานภายใต้ข้อบังคับว่าด้วยศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษา ลงวันที่ 14 มีนาคม 2544 จึงโอนงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา
ที่สำนักวิชาการดำเนินการ ไปขึ้นกับศูนย์ประสานงานการประกันคุณภาพการศึกษาดังกล่าว
พ.ศ.2546 – ปัจจุบัน สำนักวิชาการมีการแบ่งโครงสร้าง ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการ และฝ่ายต่าง ๆ 4 ฝ่าย ได้แก่ ฝ่ายตำรา ฝ่ายพัฒนาคณาจารย์ ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน และฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพ ทั้งนี้ยังได้รับโอนงานกิตติเมธีจากสำนักบัณฑิตศึกษากลับมาที่สำนักงานเลขานุการและโอนงานด้านหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษากลับมาที่ฝ่ายพัฒนาหลักสูตรและการสอน สำนักวิชาการ ซึ่งเป็นไปตามมติที่ประชุมผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 6/2548 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548
ข้อมูล ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2567